วันนี้มาต่อกันที่ “ลักซอร์” เมืองหลวงเก่าแห่งหนึ่งของอียิปต์
ที่จะทำให้เราได้รู้ว่า พระเอกตัวจริงของการเที่ยวอียิปต์ คือที่ใดกันแน่ครับ
ต่อจากการนั่งรถไฟจากอัสวานมาลักซอร์ แม้ระยะทางจะไม่ห่างกันมาก แต่ก็ใช้เวลาไปถึง 4 ชั่วโมงครับ ฟังแล้วก็อย่าเพิ่งเบื่อไปซะก่อนนะครับ รถไฟเขาสะอาด แอร์เย็น ค่าโดยสารไม่แพง
สถานีรถไฟที่นี่ดูสะอาดสะอ้านกว่าที่อัสวาน
คืนนี้เรานอนกันที่โรงแรม Nefertiti hotel ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไนล์ อยู่ติดถนนสฟิงซ์ (Sphinx avenue) เลยครับ ทำเลดีสุดๆ อยู่ใกล้วิหารลักซอร์ (Luxor temple) เลย
ภาพนี้ถ่ายจากดาดฟ้าโรงแรมนะครับ โรงแรมอยู่ติดถนนสฟิงซ์ (Sphinx avenue) เลย
ความจริงแล้วเราเดินเที่ยว Luxor temple ตั้งแต่คืนนี้เลยคับ แต่ขอยกยอดไปอีก part เนื่องจากอยู่ฝั่งตะวันออก แต่กระทู้นี้จะไปฝั่งตะวันตกของเมืองลักซอร์กันครับ
หลังจากรีบเข้านอนเพื่อตื่นไปลอยบอลลูนกันเรียบร้อย
Luxor west banks
เราก็นัดเจอกับ Ragab El Tahir ไกด์ท้องถิ่นที่ติดต่อผ่านทางโรงแรมไว้ เพื่อนำเราไปเที่ยวฝั่งตะวันตก ซึ่งถือเป็นฝั่งสุสานหรือฝั่งคนตายนั่นเองครับ สำหรับรายละเอียด local tour มีดังนี้
– 22.5 USD/คน
– เป็นการเที่ยวทั้งวันด้วยรถตู้
– มีน้ำดื่มบริการ
– ไกด์พูดภาษาอังกฤษคล่อง
– ไกด์อ่านอักษรภาพเฮียโรกลิฟฟิกได้
Colossi of Memnon
ที่แรกต้องเรียกว่าเป็นทางผ่าน เพราะใช้เวลาแปบเดียว และไม่เสียค่าเข้าชมอีกด้วย
Colossi of Memnon หรือยักษ์ใหญ่แห่งเมมนอน โด่งดังจากขนาดใหญ่ และตำนานลึกลับที่เกี่ยวกับเสียงจากรูปปั้นแห่งนี้ครับ
เสียงจากรูปปั้นจะเกิดขึ้นราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมของทุกปี เสียงที่เกิดคล้ายกับการร้องหาด้วยความเศร้าสร้อยที่แม่ (บ้างก็ว่าพ่อ) ของราชาเมมนอนแห่งเอธิโอเปียร้องคร่ำครวญคิดถึงบุตรชายที่ถูกอคิลลิส (Achilles) วีรบุรุษแห่งกรีกสังหาร
ตำนานนั้นเกิดจากการที่เทวรูปแตกหักจากผลของแผ่นดินไหว เมื่อลมพัดผ่านรอยแตก จึงเกิดเสียงหวีดหวิวคล้ายกับการกรีดร้องอย่างน่าเวทนา ทำให้ผู้พบเห็นโยงไปถึงเรื่องราวของราชาเมมนอนนั่นเอง
แต่ในความเป็นจริงแล้วเทวรูปที่ตั้งอยู่ในเมืองลักซอร์ฝั่งตะวันตกนี้
ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับราชาเมมนอนกรีกแม้แต่น้อย
แต่เป็นรูปปั้นของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III) ต่างหาก
สำหรับใครที่อยากไปลองฟังเสียงดูบ้าง ก็ต้องบอกว่า “หมดสิทธิ์” ครับ
เพราะรูปปั้นได้รับการบูรณะแล้ว จึงไม่มีเสียงอีกต่อไป
Habu temple
ออกจาก Colossi of Memnon มาได้ไม่ไกล ก็ถึงแล้ว Habu temple หรือ Medinet Habu หรือ Mortuary temple of Ramesses III ซึ่งเป็นวิหารประกอบพิธีพระศพของฟาโรห์รามเสสที่ 3 นั่นเอง สำหรับสถานที่นี้เราขอเป็นพิเศษนอกเหนือโปรแกรมครับ และก็ต้องบอกว่า “ไม่ผิดหวัง” และให้คะแนน “เกินคุ้ม” สำหรับวิหารนี้แน่นอน
ด้วยความที่วิหารแห่งนี้ยังดังสู้ Ramesseum หรือ Mortuary temple of Ramesses II ไม่ได้ นักท่องเที่ยวจึงไม่มากครับ
ที่เสาประตู (Pylon) ขนาดใหญ่เป็นภาพสลักฟาโรห์ทำพิธีกรรมสังหารหมู่ต่อหน้าเทพเจ้า
จุดเด่นของวิหารแห่งนี้คือ การสลักลงไป “ลึก” อย่างชัดเจน
ผ่าน Pylon มาจะพบกับลานสุริยะ ภาพสลักบริเวณนี้เล่าเรื่องการรบของฟาโรห์รามเสสที่ 3 ครับ
นอกจากนี้ อีกสิ่งที่น่าจะประทับคือสีสันอันสวยงามที่ยังคงอยู่ในหลายๆภาพสลักครับ เรียกว่า colorful สุดๆไปเลยครับ
สีฟ้าหรือ Egyptian blue ถือเป็นสีสังเคราะห์ชนิดแรกของโลก ดูแล้วสบายตาจริงๆ
สังเกตได้ว่าบนเศียรของฟาโรห์มีนกแร้งอยู่ด้วย นกแร้งนั้นเป็นสัญลักษณ์ของเทพีเน็คเบ็ต ผู้ปกป้องอียิปต์บน (Upper Egypt) ครับ
เทพโอชีรีส และขนนกแห่งเทพีมาอัต สัญลักษณ์แห่งความดีงาม
ใกล้กันมีเทพ 4 องค์ ซึ่งก็คือ 4 เทพบุตรแห่งฮอรัส ที่เศียรของเทพเหล่านี้จะปรากฏอยู่บนโถคาโนปิกที่ใส่เครื่องในมัมมี่ครับ
อักษรภาพเฮียโรกลิฟฟิกที่สลักไว้ลึก และชัดเจน
เป็นอย่างไรบ้างครับ ความสวยงาม ของวิหารแห่งนี้ เรียกว่าความฟินเต็มอิ่มกันไปตั้งแต่หัววันเลยครับ คุ้มค่ามากๆที่ขอวิหารนี้เพิ่มเติมจากรายการด้วย
อ้อเกือบลืมไป ขอปิดท้ายวิหารนี้ด้วยรูปนี้ครับ
เป็นภาพสลักที่ฟาโรห์ (องค์ใหญ่) กำลังพระราชทานรางวัลแก่เหล่าทหารที่ไปออกรบ
โดยพิจารณารางวัลจากจำนวนข้าศึกที่ทหารสังหารได้
ทีนี้หากจะเอากลับมาทั้งตัว หรือตัดหัวกลับมา ก็จะลำบากเนื่องจากน้ำหนักมากใช่ไหมครับ
เขาเลยใช้วิธีนี้ครับ ตัด “มือ” กลับมา (ที่เห็นเป็นกองๆ 2 กองบน)
และอีกวิธีที่น่าสยดสยองกว่าคือ
ตัด “men organ” หรืออวัยวะเพศชายกลับมา (กองล่างสุด) นั่นแหละครับ
Mortuary temple of Ramesses II; Ramesseum
สถานที่ต่อไปคือวิหารประกอบพิธีพระศพของฟาโรห์รามเสสที่ 2
ที่หน้าทางเข้ามีรูปปั้นเทพอนูบิสในท่าหมอบ (เทพอนูบิสมีทั้งอยู่ในรูปลักษณ์เป็นหมาในเต็มตัว และตัวเป็นคนแต่เศียรเป็นหมาใน)
ปัจจุบันรูปปั้นฟาโรห์รามเสสที่ 2 ขนาดยักษ์ได้พังทลายลงแล้ว จะเห็นแต่พระบาทอยู่กับแท่น ส่วนขาขึ้นไปวางนอนอยู่ครับ
เนื่องจากเป็นวิหารชื่อดัง จึงมีนักท่องเที่ยวมากพอสมควร
ภาพสลักที่วิหารส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องราวของฟาโรห์รามเสสที่ 2 กับเหล่าเทพเจ้า ขวาสุด 3 องค์เป็นครอบครัวเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งลักซอร์ ได้แก่ เทพอะมุน เทพีมุต (Mut) และเทพคอนซู (Khonsu) ซึ่งเป็นเทพแห่งการท่องเที่ยว เราจะได้ไปวิหารเทพคอนซูกันในวันพรุ่งนี้ครับ
เสาที่นี่ก็มีการลงสีเหมือนกัน แต่สีได้จืดจางลงไปตามกาลเวลาแล้ว ไม่สวยงามเหมือนที่ Habu temple ครับ
เที่ยวที่ Ramesseum ไม่นานครับ ไม่ค่อยอินเท่าไร รู้สึกว่าที่ Habu temple สวยกว่าเยอะเลย
Hatshepsut temple
โปรแกรมต่อไปคือที่วิหารประกอบพิธีพระศพของฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุตครับ (Mortuary temple of Hatshepsut)
ฟาโรห์แห่งอียิปต์ไม่ได้มีแต่บุรุษ หากแต่สตรีก็เคยก้าวขึ้นครองบัลลังก์แห่งอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่นี้มาแล้ว
วิหาร 3 ชั้น ที่มีรูปลักษณ์ดูทันสมัย ขัดกับความโบราณแห่งนี้ เป็นของพระนาง “ฮัตเชปซุต” (Hatshepsut) ฟาโรห์หญิงผู้ยึดอำนาจเด็ดขาดและปกครองอียิปต์เยี่ยงบุรุษ แม้ภายหลังการสวรรคต อดีตฟาโรห์น้อยที่ถูกพระนางกดขี่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจ และพยายามทำลายทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับพระนาง ราวกับต้องการลบพระนามออกจากประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่สามารถบดบังความยิ่งใหญ่ของวิหาร Mortuary temple of Hatshepsut แห่งนี้ได้เลย
ว่าแล้วก็ไปชมวิหารแห่งนี้กันครับ ว่าจะสวยงามและแปลกตาขนาดไหน
ถ้าสังเกตดีๆ เทือกเขาโดยรอบยังประกอบด้วยสุสานเล็กๆอีกมาก
ที่ด้านหน้ามีตอไม้ตอหนึ่งตั้งอยู่
เป็นตอไม้ที่ฟาโรห์ฮัตเชปซุตให้คณะเดินทางไปนำมาจากดินแดนปุนท์ (Punt land)
ซึ่งเป็นดินแดนมหัศจรรย์ในตำนานของชาวอียิปต์โบราณ
ที่มีแต่อสรพิษยักษ์อาศัยอยู่ ที่น่าเหลือเชื่อยิ่งกว่านั้น
คืออสรพิษเหล่านั้นพูดภาษาคนได้ครับ
วิหารแห่งนี้สร้างโดยเจาะเข้าไปในหน้าผา ดูแล้วตระการตาจังเลย
สฟิงซ์ที่หน้าวิหารแม้จะเสียหายไปบ้าง แต่ก็บ่งบอกได้ว่าเป็นพระพักตร์ของฟาโรห์หญิงครับ
รูปปั้นทั้งหมด เป็นรูปปั้นของฟาโรห์ฮัตเชปซุต สังเกตได้จากใบหน้าที่เกลี้ยงเกลา มุมมน งดงามอย่างหญิงสาว แต่ในขณะเดียวกันก็ใส่เคราปลอมอย่างฟาโรห์อื่น พระนางจึงได้สมญาที่ว่า “ราชินีมีเครา”
ภาพสลักภายในวิหาร เจอแล้ว!!! เทพอนูบิสเศียรหมาในผู้โด่งดัง
ภาพฟาโรห์ฮัตเชปซุตถวายบูชาแด่เทพฮอรัสเศียรเหยี่ยว ผู้เป็นตัวแทนแห่งองค์ฟาโรห์
อักษรภาพเฮียโรกลิฟฟิกสวยๆครับ
สมัยของฟาโรห์ฮัตเชปซุตนั้น นิยมกำยานอย่างมาก ถึงขนาดมีการนำเข้าต้นกำยานจาก Punt land แดนมหัศจรรย์ในตำนานมาปลูกเลยทีเดียว
ส่วนเสาต้นนี้ ถือเป็นไฮไลต์สำคัญของที่นี่ จำได้ไหมครับที่บอกไว้ว่าอดีตฟาโรห์น้อยที่เคยถูกฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุตริดรอนพระราชอำนาจนั้น ได้ทำลายแทบทุกอย่างที่เกี่ยวกับพระนาง แต่เสาต้นนี้ซึ่งมีอักษณภาพเฮียโรกลิฟฟิกที่เป็นชื่อของฮัตเชปซุตยังคงอยู่ครับ (อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมมุมมน ที่เรียกว่า “คาร์ทูช” (Cartouch)
ส่วนนี้ เป็นส่วนที่อยู่ลึกสุดของวิหาร (อยู่ในหน้าผา) เปิดให้เข้าชมได้ถึงแค่จุดนี้นะครับ
วิหารฮัตเชปซุตแห่งนี้ ก็ถือว่าสวยงาม ตระการตาพอสมควร ที่ติดใจมากก็ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูเป็นโลกสมัยใหม่ขัดกับความโบราณนี่แหละครับ ได้เปลี่ยนอารมณ์กันไปเลย
ใช้เวลาเที่ยวประมาณ 1 ชั่วโมง ท้องก็เริ่มร้อง บวกกับความเหน็ดเหนื่อยที่ต้องตื่นเช้ามืดมาขึ้นบอลลูน เราก็ตัดสินใจพักไปหาอะไรทานกันก่อนครับ
ร้านที่ Ragab พาเราไปทานจัดว่าบรรยากาศดีทีเดียวครับ เสียอย่างเดียว รูปหายหมดแล้ว ฮ่าๆ เลยขอคั่นจังหวะด้วยการไปชมร้านค้าหินแกะสลักกันครับ
หินขึ้นชื่อของอียิปต์ก็ชื่อหินอลาบาสเตอร์ (Alabaster) ซึ่งมีความแข็งแรงมาก สามารถทดสอบได้ด้วยการปล่อยตกใส่พื้นครับ หากเป็นของแท้หินจะไม่แตก อีกอย่างคือ หินจะมีความโปร่งแสง สามารถทดสอบได้ด้วยการปิดไฟ โดยร้านที่ขายของที่ระลึกที่ทำจากหินอลาบาสเตอร์แท้ จะภูมิใจกับการนำเสนอเหล่านี้มากครับ
อันนี้เป็นตัวอย่างของที่ระลึก อ้อ ถ้ามีพ่อค้ามาหยิบของใส่มือให้ ก็อย่าไปรับนะครับ ถึงจะบอกฟรีก็ตาม แต่จะขอทิปตามมาทีหลัง
หลังเพลิดเพลินกับอาหารกลางวัน ก็ถึงเวลาที่รอคอยเสียที “หุบผากษัตริย์” รอเราอยู่หุบผากษัตริย์ (Valley of Kings) ตั้งอยู่ที่เทือกเขาธีบัน (Theban) สร้างโดยเจาะหลุมศพเข้าไปในภูเขาครับ
ที่ต้องสร้างแบบนี้เพราะคนอียิปต์โบราณตระหนักแล้วว่า การสร้างพีระมิดที่ใหญ่โตโอ่อ่า ไม่อาจรักษาสมบัติจากพวกโจรขโมยสุสานได้ จึงเปลี่ยนมาสร้างแบบแอบซ่อนไว้ในหุบเขาแทน โดยมองว่า “เทือกเขา” ก็คือพีระมิดนั่นเองครับ




– ตามมาด้วยการสลัก
– ลงสี
– และเก็บรายละเอียด
ดังนั้น บริเวณที่จะได้เก็บงามเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่อื่น จึงเป็นที่บริเวณทางเข้า (เจาะก่อน) แล้วค่อยๆไล่เข้าไปถึงในสุด ซึ่งเป็นห้องเก็บพระศพครับ
อย่างที่ได้เกริ่นไปครับ เนื่องจากเขาสร้างเพื่อต้องการหลบซ่อนจากโจรปล้นสุสาน ทางเข้าจึงมีขนาดเล็ก และซ่อนตัวอยู่


เนื่องจากไม่สามารถถ่ายรูปได้ จึงขอใช้รูปจากหนังสือนะครับ
ความน่าสนใจของหลุมศพ KV 62 ไม่ได้อยู่ที่ขนาด หรือความลึกของการเจาะเข้าไปในภูเขาครับ แต่เป็น “ความสมบูรณ์” ของสุสานเมื่อคราวที่ขุดค้นพบ ที่พบว่า แทบไม่ถูกแตะต้องมาก่อนเลย

– แต่….อย่าหวังว่าจะได้เห็นสมบัติที่นี่ครับ ทั้งหมดถูกย้ายออกไปเก็บตามพิพิธภัณฑ์หมดแล้ว- แต่ 2 …. อย่าเพิ่งคิดว่าจะไม่มีอะไรน่าสนใจกับค่าเข้าชม 300 EGP นะครับ เพราะสิ่งที่สูงค่ากว่าสมบัติเหล่านั้น ก็คือร่างมัมมี่ของพระองค์ ยังบรรทมอยู่ที่นี่ ไม่เหมือนกับมัมมี่ราชวงศ์อื่นๆ ที่ถูกย้ายไปพิพิธภัณฑ์หมดแล้ว

อ่านมาถึงตรงนี้ สงสัยกันไหมครับว่า แล้วทำไมร่างของพระองค์ยังคงอยู่ที่นี่ ?
ใช่แล้วครับ ร่างมัมมี่นั้นเคยถูกย้ายออกไปแล้ว และเกิดเหตุแปลกประหลาดต่างๆมากมาย
ส่วนใครที่เคยเข้ามาแล้ว ก็อาจไปมองหาหลุมอื่นดีกว่า เพราะนอกเหนือจากร่างมัมมี่แล้ว สมบัติอื่นๆก็ถูกขนออกไปหมดแล้วครับ
KV 8 Tomb of Merenptah
หลังออกจากหลุมพระศพตุตันคามุนมา ก็ได้เวลาใช้ตั๋วที่เลือกเข้าได้ 3 หลุมสักทีครับ
หลุมแรกนั้น เนื่องจากอยากเห็นอะไรที่ได้ความรู้สึกผจญภัยหน่อย จึงเลือกไปที่หลุม KV 8 ของ มีเรนพทาห์ (Merenptah) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลุมที่มีความยาว หรือลึกมากที่สุด แล้ววางแผนไปชมหลุมสวยๆงามๆ ในตอนท้ายครับ
หลุมพระศพของฟาโรห์มีเรนพทาห์ มีความลึกถึง 172 เมตร ลึกมากเลยครับเมื่อเทียบกับการที่ต้องเจาะเข้าไปในภูเขา
แลนด์มาร์คที่บริเวณทางเข้า องค์ฟาโรห์ถวายบูชาแด่เทพ รา-ฮอรัคตี
ลงมาลึก ในที่สุดก็ถึงแล้วครับ ห้องเก็บพระศพซึ่งอยู่ด้านในสุด ที่ห้องนี้เราจะได้พบกับโลงหินขององค์ฟาโรห์
KV 6 Tomb of Ramesses IX
หลุมที่ 2 เป็นหลุมที่ต้องบอกว่า “สวยงาม” แต่ก็ ”ประหลาด” ครับ
หลุมพระศพแห่งนี้เป็นของฟาโรห์ รามเสสที่ 9 (Ramesses IX) ความสวยงามเรียกว่าอยู่ในระดับท็อป เนื่องจากใช้เวลาสร้างนานถึง 17-18 ปีเลยทีเดียว
ส่วนความแปลกประหลาดนั้น อยู่ที่ความแตกต่างระหว่างความละเอียดของงานศิลปะที่บริเวณทางเข้า และภายในสุสานครับ
นั่นคือที่บริเวณทางเข้า จะมีความละเอียดสวยงามมากกว่า เนื่องจากช่างมีเวลาทำงานนานในช่วงแรก แต่ภายองค์ฟาโรห์ได้สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน จึงต้องรีบเร่งงานให้เสร็จโดยไว (ร่างของฟาโรห์ถูกทำมัมมี่เพียงแค่ 70-80 วันเท่านั้น)
ถ้าจะให้คำจำกัดความสักคำสำหรับหลุมนี้ก็คงเป็น Unfinished tomb หรือ Rush finished tomb ละกันครับ
ภาพสลักบริเวณทางเข้า มีความละเอียดทั้งการสลัก และการลงสีครับ
เนื่องจากการก่อสร้างสุสาน จะแล้วเสร็จบริเวณทางเข้า แล้วค่อยๆไล่เข้าไปข้างในสุดนั่นเองครับ
KV 2 Tomb of Ramesses IV
หลุมสุดท้าย เป็นหลุมที่ผมประทับใจที่สุดเลยครับ สวยงามตระการตาจริงๆ
หลุม KV 2 ของฟาโรห์รามเสสที่ 4 (Ramesses IV)
ถือเป็นหนึ่งในหลุมที่มีสันสันสวยงามที่สุด (The most colorful tomb) เลยครับ
สวยแค่ไหน? เอาเป็นว่าให้ภาพเล่าเรื่องละกันครับ
หลุมนี้ เป็นหลุมที่เราใช้เวลานานที่สุดเลยครับ เนื่องจากสวยงามตระการตาจริงๆ
นี่ถ้าไม่ติดว่าร้อน คงอยู่นานกว่านี้อีกแน่ๆ
เป็นอันว่าจบลักซอร์ฝั่งตะวันตกไปแบบอิ่มเอมความสุขกันถ้วนหน้า
ตั้งแต่การชมทัศนียภาพที่งดงามจากบอลลูน ชมวิหารลับที่มีภาพสลักสวยงาม
วิหารประกอบพิธีพระศพของฟาโรห์หญิงผู้โด่งดัง
และหุบผากษัตริย์ที่แม้จะซ่อนตัวอยู่ตามภูเขา แต่ภายในยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติแห่งองค์ฟาโรห์โดยแท้
ไว้จะมาต่อลักซอร์ฝั่งตะวันออกใน part 5.2 นะครับ นี่แค่ฝั่งตะวันตกอย่างเดียว
ผมก็คิดว่าชนะกีซ่าได้เรียบร้อยแล้ว แล้วไปดูฝั่งคนเป็นกันบ้างครับ
สรุปค่าใช้จ่ายในวันนี้
หากเห็นว่าข้อมูลดี มีประโยชน์ ช่วยกด like แฟนเพจเฟซบุ๊คเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ
Travel together – เที่ยวด้วยกันหมอฟันรีวิว
หรือตามลิงค์ไปได้เลยครับ
good!!!!!!
Great goods from you, man. I’ve be mindful your stuff previous
to and you are simply extremely excellent. I really like what you have bought right
here, really like what you’re stating and the way by which you are saying it.
You are making it enjoyable and you continue to take care of to keep it sensible.
I can not wait to read much more from you.
This is really a great website.