รีวิวทริปอียิปต์ใกล้จบเข้ามาทุกทีแล้วนะครับ วันนี้เราไปเที่ยวลักซอร์ฝั่งตะวันออก
ซึ่งเป็นฝั่งคนเป็น พิมพ์แบบนี้มาตั้งหลายครั้งแล้วเพื่อนๆอาจสงสัยใช่มั้ย?
อะไรคือฝั่งคนเป็น? และอะไรคือฝั่งคนตาย?
คำตอบ ชาวอียิปต์โบราณมีความผูกพันกับแม่น้ำไนล์มาก แล้วแม่น้ำไนล์เนี่ยไหลจากใต้สู่เหนือ ทำให้แบ่งแผ่นดินเป็น 2 ฝั่ง คือ ตะวันออก และตะวันตก
นอกจากนี้ชาวอียิปต์ยังนับถือสุริยเทพ หรือเทพแห่งดวงอาทิตย์มาก เรียกได้ว่า ดวงอาทิตย์ เป็นตัวแทนแห่งความมีชีวิต ซึ่งดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
ดังนั้น ฝั่งตะวันออกจึงถือเป็นฝั่งแห่งชีวิต หรือฝั่งคนเป็น
ส่วนฝั่งตะวันตก ถือเป็นฝั่งของคนตาย
จึงนิยมสร้างสุสานต่างๆ ไว้ที่ฝั่งตะวันตก
ดังที่เราเห็นมาแล้วไม่ว่าจะเป็น พีระมิด หรือหุบผากษัตริย์ ต่างก็อยู่ฝั่งตะวันตกทั้งหมดครับ
กลับมาเที่ยวกันต่อ ทบทวนแผนอีกครั้ง วันนี้เป็นวันที่ 6 ในอียิปต์แล้วครับ เราจะเที่ยวฝั่งตะวันออก ซึ่งอยู่ใกล้ๆโรงแรม Nefertiti hotel ที่เราพักอยู่นี่เอง
หลังจากเหน็ดเหนื่อยเพราะตื่นเช้ามืด และดึก มา 2 วันติดกัน จึงตัดสินใจว่า คืนนี้จะนอนเอาแรงสักหน่อย ค่อยไปวิหารคาร์นักช่วงสายๆครับ
วิหารคาร์นักเชื่อมต่อกับวิหารลักซอร์ (ที่อยู่ใกล้โรงแรมเรา) ด้วยถนนสฟิงซ์ ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร ปรกติแล้ว ระยะทางเท่านี้เราจะเดินไป แต่วันนี้แดดร้อนมาก จึงโบกแท็กซี่ไปครับ ค่าแท็กซี่ที่ลักซอร์ก็ใกล้เคียงกับอัสวาน คือถูกมาก แทบไม่ต้องต่อให้เสียเวลา (ตกคนละประมาณ 10 EGP เท่านั้น)
ภาพนี้เป็นวิวจากดาดฟ้าโรงแรมนะครับ หน้าถนนสฟิงซ์ ใกล้วิหารลักซอร์ และแม่น้ำไนล์นิดเดียวเอง
Karnak temple
ออกมาไม่นานก็ถึงวิหารคาร์นักแล้ว ที่เคาท์เตอร์ขายตั๋วมีป้ายประกาศเกี่ยวกับการถ่ายรูปด้วยครับ (หลายที่ไม่ติดประกาศ) ค่าตั๋วสำหรับถ่ายรูป 50 EGP/กล้อง เรียกว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับที่ผ่านมา
เข้ามาก็พบกับแผนผังวิหารแห่งนี้ ใหญ่โตมากๆ เพราะมีการสร้างต่อเติมกันมาโดยฟาโรห์ถึง 30 รุ่นเลยทีเดียว
เนื่องจากวันนี้มาสาย ก็ตามคาดครับ คนเยอะมาก แล้วยังย้อนแสงอีก
ก่อนเข้าสู่ตัววิหาร จะพบกับสฟิงซ์เรียงราย 2 ข้างทาง สังเกตที่หัวสฟิงซ์จะไม่ได้เป็นหัวคนอย่างที่เราคุ้นตาก่อนหน้านี้ แต่สฟิงซ์มีหัวเป็น “แกะ” ครับ เนื่องจากแกะเป็นสัญลักษณ์ของเทพอะมุน (Amun) จอมเทพสูงสุดแห่งเมืองลักซอร์นั่นเอง
ที่ใต้คางของหัวแกะ เป็นรูปปั้นฟาโรห์รามเสสที่ 2 สื่อความหมายว่า เทพอะมุน (แกะ) ปกป้ององค์ฟาโรห์อยู่
กลุ่มวิหารคาร์นักกินพื้นที่บริเวณกว้าง เป็นหนึ่งในวิหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เรียกว่ากลุ่มวิหาร เพราะประกอบไปด้วยวิหารย่อยอีกหลายวิหาร ผ่านการต่อเติมจากฟาโรห์หลายพระองค์ที่ต่างฝากพระนามไว้ที่แห่งนี้ผ่านสิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นวิหาร รูปปั้น หรือเสาโอเบลิสก์
เดินผ่านเสาประตูแรก (First pylon) เข้ามา สองข้างทางจะเป็นสฟิงซ์หัวแกะอีกแล้ว ถึงจะเยอะ แต่ก็ดูไม่เบื่อนะครับ แปลกตาดี (ทางด้านขวามือสมบูรณ์กว่าซ้ายมือ)
ทางขวามืออีกเช่นกัน เป็นวิหารของฟาโรห์รามเสสที่ 3 (Temple of Ramesses III)
ภายในวิหารฟาโรห์รามเสสที่ 3 คือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของวิหาร นั่นคือเสาที่มีด้านหน้าเป็นรูปปั้นเทพโอชีรีส
เดินออกจากวิหารฟาโรห์รามเสสที่ 3 กลับสู่ทางหลัก จะพบกับรูปปั้นยักษ์ของฟาโรห์รามเสสที่ 2 สูงราว 15 เมตร
ส่วนด้านล่างเป็นรูปปั้นของพระราชธิดา Bent Anat
ผ่านรูปปั้นฟาโรห์รามเสสที่ 2 จะพบกับ hypostyle hall ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวหนึ่งในตัวอย่างของศิลปะแบบอียิปต์ที่สวยงามที่สุดครับ
ที่โถงแห่งนี้ ประกอบไปด้วย เสา เสา และเสา มากมาย ซึ่งแน่นอนว่าต้องไม่ธรรมดา เพราะแต่ละต้นมีความสูงถึง 23 เมตร และมีจำนวนถึง 134 ต้น !!!
เสาแต่ละต้นมีหัวเสาเป็นต้นปาปิรุส ที่ใช้ทำกระดาษชนิดแรกของโลก
อีกทั้งยังสลักเรื่องราวต่างๆไว้บนเสา เช่น ภาพสลักเทพอะมุน และเทพฮอรัส
อย่างที่ได้เกริ่นไว้ครับ นอกจากรูปปั้นแล้ว ฟาโรห์บางพระองค์ยังฝากพระนามไว้ที่วิหารแห่งนี้ผ่านทางเสาโอเบลิสก์ เช่น เสาโอเบลิสก์ของฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 (Tuthmosis I) พระราชบิดาของฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต ด้วยความสูง 23 เมตร และน้ำหนัก 143 ตัน
หากคิดว่าเสานั้นสูงและหนักมากแล้วล่ะก็ มาดูต้นนี้ก่อนครับ เสาโอเบลิสก์ของฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต มีความสูงถึง 30 เมตร !!! และน้ำหนัก 200 ตัน (200,000 กิโลกรัม) !!!
วิหารกว้างจริงๆครับ เดินได้ไม่เท่าไร เวลาจะหมดอีกแล้ว ครั้งหน้าคงต้องเผื่อไว้เป็นวันอีกแล้ว
อ้อ นี่เป็นภาพด้วง Scarab ที่ว่ากันนำความโชคดีมาให้ ความเชื่อเมื่อพันกว่าปีก่อนนั้น ก็ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันครับ สังเกตได้จากด้วงนี่ถูกลูบจนมันเชียว
ส่วน Pylon ในรูปผมเห็นสวยดี แต่ไม่ทราบนะครับว่าฟาโรห์องค์ใดเป็นผู้สร้าง
ว่าแล้วเราก็ไปดูวิหารเทพคอนซู (Khonsu) สักหน่อยครับ ใครอยากไปให้เดินผ่านวิหารฟาโรห์รามเสสที่ 3 ออกไปอีก
ทางเข้า
กำลังปรับปรุงอยู่เลย
สวยงามไม่แพ้วิหารหลัก โดยเฉพาะพวกสีที่ลงไว้ยังอยู่เลยครับ อ้อ เทพคอนซู เป็นเทพแห่งนักท่องเที่ยว (traveler) ด้วยนะครับ
ลิงบาบูนเป็นสัญลักษณ์แห่งสติปัญญา
อย่างที่เห็นนะครับ แม้จะมีฟาโรห์หลายพระองค์ที่ก่อสร้าง/ต่อเติมวิหารแห่งนี้ แต่ 2 พระองค์หลักที่มีบทบาทอย่างมาก ได้แก่ ฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 3 (Amenhotep III) และเจ้าเก่าเจ้าเดิม ยอดนักสร้างอย่างฟาโรห์ รามเสสที่ 2 ครับ
เที่ยวกลุ่มวิหารคาร์นักเกือบ 2 ชั่วโมง (ควรเผื่อเวลาเยอะกว่านี้นะครับ กว้างมาก มีอีกหลายวิหารที่ไม่ได้ไป) ร้อนมาก เลยว่าจะเปลี่ยนไปพิพิธภัณฑ์บ้าง ออกจากวิหารก็โบกแท็กซี่ไปครับ แน่นอนว่าค่าบริการไม่แพง
Luxor museum
พิพิธภัณฑ์ดังที่เมืองนี้ ก็ต้องที่นี่เลยครับ “พิพิธภัณฑ์ลักซอร์” (Luxor museum) ติดแม่น้ำไนล์
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ รวมรวบสมบัติในสมัยที่ลักซอร์เป็นเมืองหลวงครับ ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นฟาโรห์องค์ต่างๆ รวมถึงมี “มัมมี่ฟาโรห์” อีกด้วย เดี๋ยวไปดูกันครับ
รูปปั้นฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 3 หนึ่งในฟาโรห์ที่มีบทบาทหลักในการสร้างวิหารคาร์นัก สามารถพบรูปปั้นฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 3 ได้เป็นจำนวนมากที่นี่นะครับ
ฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 (Tuthmosis III) ผู้พยายามลบชื่อฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต ออกจากประวัติศาสตร์นั่นเอง
โอเบลิสก์ของฟาโรห์รามเสสที่ 3
นอกจากเทพอะมุน จะเป็นเทพสูงสุดแห่งลักซอร์แล้ว ยังมีการสร้างเทพผสม ระหว่าง เทพอะมุน กับเทพมิน (ผิวสี) ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งความสมบูรณ์ เป็นเทพ อะมุน-มิน (Amun-min) อีกด้วย
เทพีเซ็คเบ็ต และฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 3
*ขอบคุณรูปสวยๆจากน้องปอ
รูปปั้นนี้เป็นเทพอะมุน และเทพีมุต พระชายาครับ
โลงนี้เป็นของ Imeni และ Geheset ที่เห็นรอยแตกนั่น เกิดจากเมื่อคราวที่โจรปล้นสุสานนั้น พบว่าห้องเก็บศพมีขนาดเล็กแทบจะเท่ากับโลง ทำให้ขนโลงออกมาไม่ได้ จึงต้องเจาะปลายโลงเข้าไปเพื่อเอาทรัพย์สินออกมาครับ
คันศร และลูกธนูในสมัยนั้น
และแล้วก็ถึงไฮไลต์ Royal mummy
มัมมี่ของฟาโรห์อาร์โมส (Ahmose) ซึ่งขุดพบจากหุบผากษัตริย์ เป็นหนึ่งในฟาโรห์นักรบ
ส่วนมัมมี่ร่างนี้เป็นของฟาโรห์องค์หนึ่งไม่ทราบพระนาม ซึ่งเคยไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา ในช่วงที่มีการซื้อขายกัน
แม้จะไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีการสันนิษฐานว่า อาจเป็นมัมมี่ฟาโรห์รามเสสที่ 1 (Ramesses I)
เจอแล้ว !!! ในที่สุดเราก็พบกับรูปปั้นของฟาโรห์ชื่อดังองค์นี้ครับ “อาเมนโฮเทปที่ 4” (Amenhotep IV)
แล้วเขาคือใครกัน? ฮ่าๆ ถ้าเอ่ยชื่อพระนามฟาโรห์ “อาเคนาเตน” (Akhenaten) คงจะคุ้นกว่าใช่ไหมครับ
ฟาโรห์พระองค์นี้เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์ตุตันคามุน
และเป็นพระสวามีของพระนางเนเฟอร์ติตี (ชื่อดังทุกพระองค์เลย)
โดยพระองค์นั้นถูกเรียกว่าฟาโรห์ “นอกรีต” จากใครหลายๆคน
เนื่องจากพระองค์ได้ล้มล้างเทพอะมุน
แล้วสถาปนาสุริยเทพองค์ใหม่นาม “อาเตน” (Aten) ขึ้นมา ทำให้หลายฝ่ายไม่พอใจ
ที่พระองค์ต้องทำเช่นนั้น เนื่องด้วยต้องการลดบทบาทความสำคัญของนักบวชแห่งเทพอะมุน ซึ่งมีอำนาจมากนั่นเองครับ
นอกจากนี้ นักโบราณคดีบางท่านยังเชื่อว่า พระองค์เป็นฟาโรห์รักร่วมเพศ ด้วย จึงมองพระองค์เป็นฟาโรห์นอกรีตไปอีก
แต่หากมองกลับกัน ต้องเรียกว่าพระองค์ “กล้าหาญ” ที่จะเปิดเผยตัวตน ในสมัยที่เพศที่สามยังไม่ได้รับการยอมรับครับ
สังเกตมั้ยครับว่า พระนาม Akhenaten มีชื่อ Aten สุริยเทพในพระนาม การตั้งชื่อแบบนี้ใช้มากเพื่อบ่งบอกความสัมพันธ์ระหว่างฟาโรห์กับเทพต่างๆ ดังเช่นพระนามของฟาโรห์ Tutankhamun นั้น ก็มีชื่อเทพ Amun ในพระนาม แต่เนื่องจากฟาโรห์ตุตันคามุนเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อาเคนาเตนซึ่งนับถือสุริยเทพอาเตน พระนามเมื่อแรกเกิดจึงเป็น Tutankhaten ตามเทพ Aten นั่นเอง (ต่อมาฟาโรห์ Tutankhaten ได้เปลี่ยนให้กลับมานับถือเทพอะมุนดังเดิม จึงเปลี่ยนพระนามเป็น Tutankhamun)
ส่วนโถเหลานี้ เป็นที่เรียกว่า โถคาโนปิก (Canopic jars) ประกอบไปด้วยโถจำนวน 4 ใบที่มีฝาเป็นเศียรเทพเจ้า 4 พระองค์ ใช้ใส่เครื่องในของมัมมี่ครับ เดี๋ยวเราค่อยไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับโถคาโนปิกที่อีกพิพิธภัณฑ์หนึ่งนะครับ
เดินวนมาจนถึงทางออก ก็จะพบอีกโถงหนึ่งครับ
ที่ห้องนี้มีรูปปั้นเทพอะตุม (Atum) ด้วย โดยเป็นรูปปั้นคู่กับฟาโรห์โฮเรมเฮป (Horemheb)
สำหรับเทพอะตุมนั้น บางตำนานเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าองค์แรกของอียิปต์ที่ก่อให้กำเนิดเทพอีกหลายองค์ตามมาครับ
เที่ยวเพลินจนได้เวลาอาหารกลางวัน กลับไปกินแถวโรงแรมครับ เห็นว่ามีร้านชื่อดัง แต่ผมจำชื่อไม่ได้แล้ว กว่าจะหาเจอนี่ยากมาก แต่อร่อย คุ้มค่า คุ้มราคา ครับ
ส่วนนี่เป็นรูปถนนสฟิงซ์ที่ถ่ายจากบนสะพาน ถนนสฟิงซ์ (Sphinx avenue) นี่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์นะครับ แต่ไม่ทราบว่าที่เห็นนี่คือ ไม่เสร็จอย่างเดียว หรือขาดการดูแลรักษาด้วยหรือไม่ ดูแล้วก็น่าเสียดายจัง
Mummification museum
สำหรับช่วงบ่ายนั้น เราไปดูพิพิธภัณฑ์มัมมี่ (Mummification museum)
*** พิพิธภัณฑ์นี้มีกำหนดเวลาเปิด-ปิด เป็น 2 ช่วง/วันนะครับ ซึ่งรอบแรกที่ผมไป ปรากฏว่าปิดอยู่ ต้องรออีกช่วง แต่ผมลืมจดเวลาเปิด-ปิดมานะครับ
พิพิธภัณฑ์อยู่ตรงข้ามโรงแรมเราเลย แต่ต้องเดินอ้อมวิหารลักซอร์ไปครับ หรือจะใช้รถม้าก็ได้ ค่าบริการไม่แพง
สมบัติภายในพิพิธภัณฑ์ก็ตามชื่อครับ เกี่ยวกับการทำมัมมี่ทั้งนั้น ตั้งแต่การควักอวัยวะภายในออก นำอวัยวะไปใส่โถคาโนปิก แล้วเอาไปใส่หีบที่มีด้านบนเป็นรูปปั้นเทพอนูบิสในรูปลักษณ์หมาในอยู่ในท่าหมอบ
ส่วนร่างก็เอาไปใส่โลง แล้วตามด้วยโลงหินอีกชั้นหนึ่ง
ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า เมื่อคนเราได้ตายไปแล้ว วิญญาณจะออกจากร่าง และเรียกว่า “บา” (Ba) มีลำตัวเป็นนก หัวเป็นคน
อวัยวะภายในของมัมมี่จะถูกควักออก เพราะมีความชื้นสูง เป็นอุปสรรคต่อการเก็บรักษาร่าง โดยแบ่งใส่ 4 โถ นี่มีหัวโถเป็นเศียรของเทพเจ้า 4 องค์ หรือ 4 เทพบุตรแห่งฮอรัส ที่ทำหน้าที่คอยพิทักษ์อวัยวะภายในเหล่านั้น ได้แก่
– เทพ Imseti เศียรเป็นมนุษย์ บรรจุตับ
– เทพ Qebehsenuf เศียรเหยี่ยว บรรจุลำไส้
– เทพ Duamutef เศียรหมาใน บรรจุกระเพาะ
– เทพ Hapy เศียรลิง บรรจุปอด
จะเห็นได้ว่าแม้จะมีการควักอวัยวะภายในออก แต่ไม่มีการควักหัวใจออกนะครับ
ร่างมัมมี่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นของ Maseharti ซึ่งเป็นนักบวชสูงสุดแห่งเทพอะมุน (High priest of Amun) อีกทั้งยังเป็นนายพลแห่งกองทัพอีกด้วย
การทำมัมมี่ ไม่ได้ทำเฉพาะในคนเท่านั้น หากแต่มีการทำในสัตว์ด้วยครับ
เช่น จระเข้
แกะ
ลิงบาบูน
หรือมัมมี่แมว ที่มักใช้ในการบูชาเทพบาสเซ็ต
วัสดุต่างๆที่ใช้ในการทำมัมมี่
มีโลงที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์จัดแสดงอยู่หลายโลงทีเดียว
โดยรวมแล้วแม้จะเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆ แต่ผมว่าคุ้มค่ากับการมาเที่ยวนะครับ ได้ความรู้เกี่ยวกับการทำมัมมี่มาก และยังได้เห็น+ถ่ายรูปมัมมี่ร่างที่สมบูรณ์มากอีกด้วย
มื้อเย็นวันนี้ที่ร้าน Sofra ครับ โด่งดังในหมู่นักท่องเที่ยว ราคาถือว่าสูงเมื่อเทียบกับมื้ออื่นๆในอียิปต์ แต่ไม่แพงสำหรับการท่องเที่ยวเลยครับ ในร้านมีแต่นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งนั้น ไม่เห็นคนท้องถิ่นมาทานเลย
ส่วนเรื่องรสชาติต้องบอกว่าไม่ผิดหวังเลยครับ ถูกปากแทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะของคาว หรือเครื่องดื่ม
อ้อ น้ำผลไม้ที่อียิปต์นี่ ผมว่าอร่อยทุกอย่างเลยนะ โดยเฉพาะน้ำมะม่วงครับ
Luxor temple
สำหรับอีกแห่งในลักซอร์ที่เราไปเที่ยว ก็คือวิหารลักซอร์ที่อยู่ใกล้โรงแรม (เที่ยวตั้งแต่วันแรกที่มาถึงแล้ว แต่ยกมาใน part นี้เพราะอยู่ฝั่งตะวันออกนะครับ)
ที่บอกว่าเที่ยวตั้งแต่วันแรกที่มาถึง ก็เพราะว่า วิหารลักซอร์เปิดให้เข้าชมตอนกลางคืนด้วยนั่นเองครับ โดยเวลาปิดจะแตกต่างกันในแต่ละฤดูกาล ฤดูหนาวจะปิดเร็ว (2 ทุ่มโดยประมาณ)
ภาพมัสยิดที่เห็นนั้นเป็นมัสยิดที่สร้างขึ้นภายหลัง ส่วนที่ขวามือเป็นเสาประตูของวิหารลักซอร์ (Luxor temple) ครับ
ที่เห็นมัสยิดอยู่สูงนั้น ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจในการสร้างนะครับ แต่เป็นเพราะเดิมทีนั้น ทรายได้ทับถมวิหารลักซอร์ไป เมื่อมีการสร้างมัสยิดจึงสร้างที่พื้นระดับความสูงใหม่ แต่ต่อมาขุดพบวิหาร ทำให้มัสยิดอยู่สูงแบบนั้น
มาตอนใกล้ปิด เหลือเวลาอีก 1 ชั่วโมง คนก็ยังเยอะ แต่ไม่เป็นไรครับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กำลังเดินออกกันแล้ว
จะเห็นว่า เสาโบเอลิสก์หน้าวิหารมีเพียง 1 ต้น ดูไม่สมมาตร เดิมทีแล้วมี 2 ต้นครับ แต่ มูฮัมหมัด อาลี ปาชา อดีตผู้นำออตโนมัน-อียิปต์ ได้มอบเสา 1 ต้นให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับนาฬิกาที่ไม่เคยเดิน 1 เรือน (เฮ้อ ไม่คุ้มสุดๆ) ปัจจุบันเสาโอเบลิสก์อีกต้นตั้งอยู่ที่ Place De La Concorde ในกรุงปารีส ครับ
เสาโอเลลิสก์ต้นเดียวที่เหลืออยู่ สูงราว 25 เมตร
วิหารแห่งนี้ได้รับการต่อเติมหลายครั้ง แต่ฟาโรห์ที่มีบทบาทในการสร้างมากที่สุดก็ยังคงเป็น อาเมนโฮเทปที่ 3 และรามเสสที่ 2 นอกจากนี้ ฟาโรห์ชื่อดังองค์อื่นเช่น ตุตันคามุน โฮเรมเฮป รวมถึงอเล็กซานเดอร์มหาราช ก็ยังเคยสร้างสิ่งก่อสร้างต่อเติมวิหารแห่งนี้ด้วยครับ
อย่างที่ได้เกริ่นไปในการเที่ยววิหารคาร์นัก วิหารแห่งนี้เชื่อมต่อกับกับวิหารคาร์นักด้วยถนนสฟิงซ์ (Sphinx avenue) ที่ยาวราว 2.5 กิโลเมตร แต่ที่วิหารแห่งนี้ปิดในส่วนที่เป็นถนนสฟิงซ์นะครับ ไม่สามารถเข้าไปถ่ายรูปได้
รูปปั้นหน้าวิหารที่อยู่ในท่าประทับนั่งบนบัลลังก์คือฟาโรห์รามเสสที่ 2 ส่วนรูปปั้นยืนนั้น เดิมทีเคยเสียหายจนเหลือแต่ส่วนหัว ต่อมาได้รับการบูรณะ ก็เป็นฟาโรห์รามเสสที่ 2 เช่นกันครับ
รูปปั้นมีความสูงถึง 15.5 เมตร ต้องแหงนหน้ามองตลอด
เดินผ่านรูปปั้นและเสาประตูเข้ามาจะพบกับลานสุริยะ (court yard) ของฟาโรห์รามเสสที่ 2
และแน่นอน เราต้องพบกับเสามากมาย ซึ่งแต่ละต้นก็อลังการงานสร้างสุดๆ
มุมนี้ถือเป็นทีเด็ดของวิหารนี้ ประกอบไปด้วยรูปปั้นเทพโอชีรีสตั้งตระหง่านอยู่ ดูแล้วได้แต่อ้าปากค้างในความยิ่งใหญ่ครับ
เดิมทีตอนขุดพบนั้น รูปปั้นเหล่านี้เหลือครึ่งตัวเท่านั้น แต่บูรณะภายหลัง
รูปปั้นฟาโรห์รามเสสที่ 2 อีกแล้ว ใหญ่โตตลอด!
แน่นอนว่าพระพักตร์ยังคงหล่อเหลา
ผ่านรูปปั้นไปจะพบกับ great coloonade of Amenhotep III เป็นระเบียงเสายักษ์ของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 3 ครับ
รูปปั้นที่ผมก็ไม่ทราบว่าเป็นฟาโรห์หรือเทพองค์ใด
ผ่านเสาระเบียงฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 3 มา ก็พบกับลานสุริยะของฟาโรห์รามเสสที่ 3 ครับ
เทียบกับขนาดตัวคน
มนุษย์เราเป็นแค่สิ่งมีชีวิตเล็กๆเมื่อเทียบกับสิ่งก่อสร้างโบราณใหญ่ยักษ์เหล่านี้
ใกล้ปิดเต็มที ยามเริ่มมาไล่ให้ออกนอกวิหารแล้วครับ
แต่เดี๋ยวก่อน มาทั้งทีแล้วขอมาถ่ายในห้องนี้หน่อยครับ เป็นห้องหน้าวิหารศักสิทธิ์ สร้างเพื่ออุทิศแต่เทพอะมุน เทพีมุต และเทพคอนชู ซึ่งเป็นครอบครัวเทพแห่งลักซอร์นั่นเอง
เป็นอันว่าหมดเวลาครับ จากเดิมคิดว่ารอคนออกหมดค่อยมาถ่ายหน้าวิหารตอนปลอดคน แต่ยามปิดไฟซะหมดเลย อดถ่ายไป สถานที่ท่องเที่ยวที่เราได้ไปในลักซอร์ก็คงเท่านี้ครับ
สรุปสั้นๆ ลักซอร์ ต้องมาให้ได้ครับ
แม้ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าพีระมิดแห่งเมืองกีซ่า
แต่มหาวิหารในลักซอร์ที่รวมกันทั้งหมด ต้องบอกว่า “เกินคุ้ม” ครับ
เที่ยวเสร็จก็ได้เวลาไปขึ้นรถไฟ เดินทางไปไคโรกันแล้ว พรุ่งนี้จะได้ไปชมสมบัติชิ้นเอกดังๆของอียิปต์สักที สำหรับรถไฟขาไปไคโรนี้ เราเลือกนั่งแบบนอนเอน ไม่ใช่นอนราบนะครับ ราคาต่างกันมาก ไม่แน่ใจว่าเท่าไร แต่จำได้ว่าไม่เกิน 500 บาทครับ เวลารอบสุดท้ายคือ 19.20 น.
สรุปค่าใช้จ่ายในวันนี้ตามนี้ครับ
หากเห็นว่าข้อมูลดี มีประโยชน์ ช่วยกด like แฟนเพจเฟซบุ๊คเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ
Travel together – เที่ยวด้วยกันหมอฟันรีวิว
หรือตามลิงค์ไปได้เลยครับ
Hey there! Quick question that’s totally off topic. Do you know how to make your site mobile friendly?
My blog looks weird when viewing from my iphone 4. I’m trying to find a theme or plugin that might
be able to correct this issue. If you have any recommendations, please share.
Thank you!
I just use newspaper theme on WordPress without other paid plugins.
Hi i am kavin, its my first occasion to commenting anywhere,
when i read this paragraph i thought i could
also create comment due to this sensible post.
faultless article, i like it
exceptional post
outstanding post, i like it
best suited article, i love it