




Mycenae ที่จริงเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ของกรีซที่มีความเก่าแก่ ช่วง Bronze age ในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสตกาล ถึงศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล อาจกล่าวได้ว่าเป็นเมืองนี้แหล่งกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกเลยทีเดียว และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ปี ค.ศ.1999
















Archaeological Museum of Epidaurus เก็บรูปรวมรูปปั้นของ Asclepius หน้าบันต่างๆ ของวิหาร




หินปูน มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นเสียงความถี่ต่ำกว่า 500 Hz และสะท้อนคลื่นเสียงความถี่สูงกว่า 500 Hz ได้ดี จึงช่วยทำให้ลดเสียงดังพึมพำของผู้ชมที่เป็นเสียงรบกวน (Background Noise) ความถี่ต่ำลงได้ และทำให้เสียงของนักแสดงสะท้อนและเดินทางไปยังผู้ชมแถวหลังสุดได้ แต่นั่นก็แปลว่า เสียงต่ำของนักแสดงก็จะถูกดูดซับไปจนไม่ได้ยินเหมือนกัน


- คทางูตัวเดียวคือ Asclepius
- งูสองตัวคือ Caduceus
Asclepius คือสัญลักษณ์การรักษา ตามชื่อบุตรชายของเทพอพอลโล
อัสเคลปิอุส ผู้ชำนาญการรักษา และยังเป็นสัญลักษณ์ของ ชีวิต อาหาร และยา
Caduceus คือ สัญลักษณ์แห่งการค้า การสื่อสาร เป็นคทาของเทพเฮอร์เมส
เป็นสัญลักษณ์แห่งการสื่อสาร ติดต่อค้าขาย เจรจาผลประโยชน์
เป็นความสับสนกันนะครับ มีการตีความต่างกัน
คทาของ Asclepius เราจะเห็นได้จาก องค์การอนามัยโลก, สมาคมแพทย์อเมริกัน
หรือสมาคมแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร ใช้งูเพียงตัวเดียว
บางองค์กรที่เลือกใช้งูสองตัว และมีบางแห่งที่ปรับเปลี่ยนจากไม้เท้าเป็นคบเพลิง
แต่ยังคงความหมายถึงวิชาแพทย์ อาทิ สมาคมแพทย์คาธอลิก, สมาคมแพทย์แห่งมาเลเซีย, สมาคมแพทย์แห่งอินเดีย และกระทรวงสาธารณสุข ของไทย
Cr:https://stanglibrary.wordpress.com
Temple of Poseidon
มาตอนพระอาทิตย์ตกไปแล้ว ปิดห้ามเข้า อดเข้าไปชมความงามเลย
วิหารตั้งอยู่ที่ แหลมSunion ที่อยู่สุดแผ่นดินกรีซ ลงไปจากนี้เป็นทะเลเมดิเตอเรเนียน เป็นทำเลที่เหมาะสมในการตั้งวิหารบูชาโปเซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเล แฟนพันธ์แท้ Saint Seiya น่าจะจำตอนนี้ได้ คาน่อนที่ถูกซากะขังอยู่ที่คุกศิลาแหลม Sunion
Day8 : Acropolis
วันสุดท้ายที่เราจะเที่ยวที่เอเธนส์ สนุกครบรส ประสบการณ์มากมายเหลือเกิน
เราพักย่าน Plaka ทำให้สะดวกเวลาที่จะเดินทางไปยัง Acropolis ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Acropolis กันก่อนครับ
Acropolis : มาจากคำว่า Akro= ด้านบน และ Polis= เมือง
แปลว่า “เมืองที่อยู่ด้านบน”
เชื่อว่า ผู้คนต่างทั่วโลก อยากที่อยากจะมาที่ Acropolis แลนด์มาร์กอันโดดเด่น ที่ตั้งของวิหารพาร์เธนอน
จากความสูง 150 เมตร เราสามารถที่จะชมวิวกรุงเอเธนส์แบบพาโนรามา ได้เลยครับ
Acropolis ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวมากมายครับ ศึกสงคราม แผ่นดินไหว การถูกยิงถล่ม รวมถึงการโดนขโมยของโบราณล้ำค่าออกไป แต่ก็ไม่อาจทำให้ความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมบน Acropolis นั้นลดน้อยลงไปเลย
Tips:
- แนะนำให้ไปแต่เช้าครับ ไม่งั้นคนจะเยอะมากๆ
- ควรจะซื้อตั๋วมาก่อนครับ เราซื้อตั้งแต่วันก่อนแล้วเลยสะดวก ไม่ต้องรอคิว
- ทางเข้าหลักมี 2 จุดคือทางเข้าด้านทิศใต้ กับทางเข้าด้านสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน Akropoli เราเข้าทางนี้ครับ เพราะเดินจากย่าน plaka มาแปบเดียว
Theatre of Dionysus เป็นจุดแรกที่เราจะเดินผ่านครับ โรงละครกลางแจ้งขนาดใหญ่ตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีที่แล้ว เป็นที่จัดงานเทศกาลบูชา Dionysus เทพเจ้าแห่งการละเล่นและเหล้าองุ่น
จากโรงละคร ก็จะผ่านซากวิหารที่สร้างล้อมตาน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทีสร้างอุทิศแด่ Asclepios ยังจำได้ไหมครับ ว่าเป็นเทพแห่งอะไร???
Odeon of Herodes Atticus เป็นโรงละครในร่ม ที่สร้างในสมัย Herodes Atticus เมื่อ 161 BC. สุดยอดมากสำหรับวิศวกรรมในยุคนั้นที่สร้างซุ้มโค้งรับน้ำหนักอัฒจรรย์ ปัจจุบันยังมีการใช้งานในการแสดงดนตรีและละครครับ
จากตรงนี้เราจะเจอฝูงมหาชนเยอะแยะมากมาย
เดินขึ้นต่อมาจะเจอ Propylaia เป็นประตูซุ้มขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นเมื่อ 432 BC.
Temple of Athena Nike ตรงด้านใต้ของ Propylaia จะเจออาคารหลักเล็กๆ ที่สร้างุทิศแด่ Nike เทพีแห่งชัยชนะ สร้างขึ้นหลังจากที่กรีกมีชัยเหนือต่อเปอร์เซียในยุทธนาวีที่ซาลามิส
เรามาถึงเนินด้านบนของ Acropolis แล้วครับ แดดแรงมากสำหรับวันนี้ เราจะพบวิหาร Parthenon และวิหาร Erectheion ทางด้านซ้ายมือ
Erectheion วิหารอิเรกทีออน เป็นวิหารที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด มีหน้าบัน 3 ด้าน เป็นวิหารที่หันหลังเข้าหากันถ้ามองดูดีๆ เชื่อกันว่าสร้างขึ้นตรงตำแหน่งที่ Poseidon เทพแห้งท้องทะเล กับ Athena แสดงอภินิหารเพื่อชิงตำแหน่งเทพอุปถัมภ์ของกรุงเอเธนส์
Poseidon เอาตรีศูลปักลงบนพื้นให้น้ำทะเลพุ่งออกมา บ้างก็บอกว่าสร้างม้า ส่วน Athena เสdต้นมะกอกให้กับชาวเมือง ซึ่งตรงใจ และมีประโยชน์มากกว่า จึงเลือก Athena เป็นเทพอุปถัมภ์ และตั้งชื่อเมืองว่า Athens ที่เขียนแบบกรีกว่า Athina
ถ้าลองสังเกต เราจะพบต้นมะกอกต้นนึงหน้าวิหาร ที่เชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากต้นมะกอกต้นแรกที่ Athena ประทานแก่ชาวเมือง
จุดเด่นของวิหารอิเรกทีอุม คือ Caryatids ทั้ง 6 คน ที่รองรับหลังคาอยู่ ตำนานเล่าว่า เป็นสตรีจากหัวเมืองกรีก ไปฝักใฝ่กับพวกเปอร์เซีย จึงถูกสาบให้อยู่ที่หลังคาแห่งนี้
Caryatids ที่เห็นเป็นของจำลองครับ ของจริง 5 เสาอยู่ที่ Acropolis museum ส่วนอีก 1 เสาอยู่ที่ British museum ประเทศอังกฤษ มีเรื่องเล่าว่า มีคนได้ยินเสียงร้องไห้จากเสาออกมาครับ เป็นไปได้ว่านางคิดถึงพี่น้องของนางที่เอเธนส์
Parthenon วิหารพาร์เธนอน สร้างอุทิศแด่เทพีอธีน่า เมื่อ 432 BC. สร้างด้วยหินอ่อน ซึ่งเสาแต่ละต้นเกิดจากการเรียงหินเป็นท่อนๆ มีเดือยไม้ยึดแต่ละก้อนเข้าด้วยกัน จากนั้นถึงสลักร่องและลวดลายต่าง เสาเป็นแบบ Doric
ผังวิหารพาร์เธนอนวางตัวในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ตรงหน้าบันจะมีประติมากรรมเล่าเรื่องตำนานต่างๆ เสียดายโดนขโมยไปหมด แต่มีจำลองที่ Acropolis museum
ด้านในของวิหารพาร์เธนอนเคยเป็นที่ประดิษฐานของ เทพีอาเธน่าพาร์เธนอส (Athena Parthenos) ซึ่งสร้างจากงาช้างและทองคำ มือขวาถือไนกี้มือซ้ายถือโล่ สูง 11 เมตร น่าเสียดายช่วงที่กรีกถูกโรมันครอบครอง เทวรูปองค์นี้ก็ถูกยกไปที่คอนสแตนติโนเปิลและหายสาบสูญไป
วิหารพาร์เธนอน ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากจริงๆ เคยเป็นคลังหลวงสมัยเอเธนส์เรืองอำนาจ พอถึงศตวรรษที่ 6 เปลี่ยนมาเป็นโบสถ์คริสต์
พอออตโตมันครอบครอง ก็เป็นมัสยิดในช่วงศตวรรษที่ 15 และมาเสียหายอย่างหนักในช่วงนี้เอง ทำให้พาร์เธนอนอยู่ในสภาพปรักหักพัง จนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีเครนซ่อมแซมอยู่ตลอด
ภาพจำลอง Acropolis ในสมัยก่อน วิหารพาร์เธนอน ยิ่งใหญ่และสวยงาม ที่จริงตัววิหาร หน้าบันมันมีสีนะครับ
เราใช้เวลาในการเที่ยวชมประมาณ 1.5 ชม. เดี๋ยวมาต่อกันที่ Acropolis museum ครับ><
Acropolis museum เป็นพิพิธภัณฑ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัย เปิดบริการเมื่อปี 2009 ท้าทายด้วยการสร้างทับลงไปบนหลุมขุดค้นโบราณสถานเลย ตรงทางเข้าเราจะผ่านกระจกใสมองเห็นโบราณสถานข้างใต้ได้เลยครับ
Acropolis museum ออกแบบโดย Bernard Tschumi เน้นอาคารโปร่งๆ ให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามา ให้เห็นความสวยงามของประติมากรรม หินอ่อนต่างๆ ไฮไลท์อยู่ที่ชั้นบนสุด ออกแบบด้านกว้างและยาวเท่ากับตัววิหารพาร์เธนอนเลยครับ จัดแสดงภาพสลักหน้าบัน ประติมากรรมที่เคยประดับในวิหารพาร์เธนอน แต่เป็นของจำลองนะครับ ของจริงอยู่ที่ Britih museum เป็นสาเหตุทำไมกรีซถึงสร้างพิพิธภัณฑ์ระดับ World class
ช่วงที่กรีซตกอยู่ในอำนาจของออตโตมัน เมื่อศตวรรษที่19 ชาวอังกฤษชื่อ ลอร์ด เอลกิน ได้ขนเอาโบราณวัตถุไปหมดเลยครับ ชุดสำคัญที่สุดคือ หินอ่อนจากพาร์เธนอน ตอนนี้จัดแสดงที่ British museum รัฐบาลกรีซพยายามทวงคืนหลายครั้ง แต่ทางประเทศอังกฤษจะบ่ายเบี่ยง ให้เหตุผลในเชิงที่ว่า กรีซยังไม่มีสถานที่ที่เหมาะสมจะจัดแสดงสิ่งของอันทรงคุณค่า ซึ่งทำให้ประเทศกรีซคงจะโกรธมาก จึงทำให้เกิดการสร้าง Acropolis museum แห่งนี้
โซนที่น่าสนใจคือ Caryatids ทั้ง 5 ของแท้ที่ขนมาจากวิหาร Erectheion
หน้าบันของวิหารพาร์เธนอน
ชั้นที่ 3 The Parthenon Gallery จัดแสดงประติมากรรมหินอ่อนจำลอง ของวิหารพาร์เธนอน
บางบริเวณเว้นที่ไว้ รอการกลับมาครับ หวังว่าทางการกรีซจะได้คืนหินอ่อน ในเร็ววันครับ
ชั้นที่ 2 เป็นคาเฟ่ต์กับร้านอาหาร ชอบการออกแบบมากครับ นั่งจิบกาแฟกับวิวอะโครโพลิส แถมมีหนังสือ ของที่ระลึกเพียบเลย
สุดท้ายแล้วครับ ตลอด 8 วันในกรีซ สนุกมากเลยครับ ได้เที่ยวครบทุกรสชาติเลย ถึงแม้จะเจอเรื่องแย่ๆในวันที่โดนทุบรถ ในใจก็ยังคิดว่ากรีซเป็นประเทศที่สวยงาม ผู้คนเป็นมิตร ยังมีอีกหลายสถานที่ที่ยังไม่ได้ไป เจอกันใหม่ครั้งหน้าครับเมื่อไหร่ไม่รู้
หากเห็นว่าข้อมูลดี มีประโยชน์ ช่วยกด like แฟนเพจเฟซบุ๊คเป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะครับ
Travel together – เที่ยวด้วยกันหมอฟันรีวิว
หรือตามลิงค์ไปได้เลยครับ
You made a number of good points there. I did a search on the topic and found a good number of folks will consent with your blog. Ynes Wake Cosetta
You are my inhalation , I own few web logs and very sporadically run out from to brand. Codee Claudell Ferullo
Some genuinely superb blog posts oon this website, thank you for contribution. Heddi Byron Delos
Fastidious answers in return of this matter with genuine arguments and telling everything about that. Carolyne Michale Jillana
Pretty! This was an incredibly wonderful article. Many thanks for supplying this information. Annelise Darrel Luciana
Merely wanna input that you have a very decent internet site , I the pattern it really stands out. Issie Gilburt Hogue
I liked up to you will receive carried out proper here. Teddie Lazar Latashia
You are a great writer. I just saved your website. Hallie Jean Pammie
Hi, after reading this awesome article i am as well cheerful to share my know-how here with mates. Jeanna Eziechiele Kalfas
Very good article! We are linking to this great post on our website. Keep up the great writing. Eunice Hugibert Daisie
Admiring the time and effort you put into your website and detailed information you offer. Jeannie Paxton Haskins
We stumbled over here by a different web page and thought I might as well check things out. Shanda Alfy Jo-Ann
Everything is very open with a really clear description of the issues. It was really informative. Your site is very helpful. Many thanks for sharing. Lanita Tirrell Mordy
I must get across my appreciation for your kindness giving support to folks who need assistance with this one content. Your personal commitment to getting the message up and down ended up being surprisingly beneficial and have continuously encouraged those just like me to realize their endeavors. Your invaluable suggestions signifies so much a person like me and even further to my peers. With thanks; from each one of us. Taffy Reamonn Joelle
Some genuinely prize blog posts on this site, saved to bookmarks . Van Alex Jimmy Morgana Ambros Iveson
This is my first time pay a quick visit at here and i am genuinely pleassant to read all at alone place. Phoebe Rudiger Pals
The next time I read a blog, Hopefully it does not disappoint me just as much as this one. After all, I know it was my choice to read through, nonetheless I actually believed you would have something useful to talk about. All I hear is a bunch of complaining about something that you could possibly fix if you were not too busy searching for attention. Orelia Menard Gunas
when you get older, you would be more prone to dental problems and stuff like that;; Kimmy Darnall Bergin
Good to see a post form you. It has been a while. The deer in my area had a good winter as well. I have six consistently and as many as 8 at a time. Elbertina Lombard Fairlie
Howdy, I do think your blog may be having internet browser compatibility issues. Whenever I look at your website in Safari, it looks fine however when opening in I. E., it has some overlapping issues. I simply wanted to give you a quick heads up! Apart from that, wonderful website! Kayle Grange Stafford
certainly like your web site but you have to test the spelling on several of your posts. Many of them are rife with spelling problems and I in finding it very bothersome to inform the truth on the other hand I will certainly come again again. Kym Rayner Solly
Im thankful for the article. Much thanks again. Keep writing. Ana Alonzo Lyle